
น้ำมันหอมระเหยและน้ำหอมต่างกันอย่างไร
น้ำมันหอมระเหยและน้ำหอมต่างกันอย่างไร
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทั้งน้ำมันหอมระเหยและน้ำหอม ต่างก็เป็นสิ่งที่มนุษย์เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างกลิ่นหอมและสร้างบรรยากาศ หากฟังดูเผิน ๆ ก็อาจทำให้เข้าใจผิดไปได้ว่า ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่เหมือนกัน หรือ สามารถใช้ทดแทนกันได้ แต่แท้จริงแล้ว น้ำมันหอมระเหยและน้ำหอมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งกรรมวิธีการผลิต ส่วนผสม คุณสมบัติ และการใช้งาน
ในบทความนี้ CHOL Aromatique ขอพาไปไขข้อข้องใจว่า น้ำมันหอมระเหยนั้นแตกต่างจากน้ำหอมอย่างไร พร้อมบอกคุณสมบัติ วิธีเลือก และวิธีใช้ ที่จะให้คุณประโยชน์สูงสุดกับคุณ
น้ำมันหอมระเหย คืออะไร

น้ำมันหอมระเหยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ มีกลิ่นหอมที่ได้มาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก ลำต้น เปลือก หรือ ผล ที่ผ่านกระบวนการการสกัด ซึ่งเป็นกระบวนการที่น้ำมันธรรมชาติถูกแยกออกจากสารอื่น ๆ ทั้งหมดโดยผ่านการกลั่นด้วยน้ำ สกัดด้วยการบีบเย็น สกัดโดยใช้ตัวทำละลาย หรือ สกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซค์เหลว ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับการบีบน้ำมันออกนั่นเอง
น้ำมันหอมระเหยจึงถือเป็นสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรมชาติแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถคงกลิ่นและคุณประโยชน์ของพืชเอาไว้ได้มากที่สุด โดยสารธรรมชาติเหล่านี้ยังมีสารประกอบทางเคมีที่สามารถใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้อีกด้วย
อย่าง ศาสตร์อโรมาเทอราปี ก็เป็นหนึ่งในศาสตร์ที่ใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจมาเป็นเวลาหลายพันปี
น้ำมันหอมระเหย ต่างจากน้ำหอมอย่างไร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำหอมก่อน น้ำหอมไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แต่เป็นกลิ่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบกลิ่นจากธรรมชาติ หรือ กลิ่นที่ใช้สร้างประสบการณ์การรับรู้ถึงกลิ่นใหม่ ๆ ที่ไม่อาจพบเจอได้จากธรรมชาติ
น้ำหอมสามารถผลิตขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผลิตหัวน้ำหอมที่สร้างกลิ่นได้ทุกรูปแบบ หรือ ตั้งแต่กลิ่นคลาสสิกดั้งเดิม เช่น ดอกมะลิและไม้จันทน์ ไปจนถึงกลิ่นหอมที่สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว
ดังนั้น น้ำมันหอมระเหยจึงแตกต่างจากน้ำหอมโดยสิ้นเชิง เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการบำบัดหรือส่งเสริมสุขภาพ แต่น้ำหอมเป็นกลิ่นที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น และไม่ได้มีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแต่อย่างใด และถูกใช้งานเพื่อปรุงแต่งกลิ่นหอมเท่านั้น
คุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย

อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า น้ำมันหอมระเหยสามารถนำมาใช้ในการบำบัดในศาสตร์ของอโรมาเทอราพี ซึ่งเป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาพประเภทหนึ่งที่ใช้กลิ่นหอมเข้ามาช่วยทำให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น
ในการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
- เสริมสร้างอารมณ์เชิงบวก
- ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ให้สามารถจดจำและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น
- ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลง
- เสริมคุณภาพการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้น
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส
- ลดการอักเสบ
- ลดอาการคลื่นไส้
- บรรเทาอาการปวดหัว
หากใครอยากสัมผัสคุณประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์แท้ 100% ที่สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพกายใจของคุณให้ดียิ่งขึ้น ทาง CHOL Aromatique มีน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชพรรณนานาชนิดให้เลือกสรร สามารถอ่านรายละเอียดเพื่อสั่งซื้อได้ที่: (ลิงก์)
วิธีใช้น้ำมันหอมระเหย

- ใช้การสูดดมโดยตรงจากขวด หรือ หยดลงบนสำลีหรือผ้าเช็ดหน้าเพื่อสูดดม เพื่อทำให้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายขึ้นได้
- ใช้ผสมกับน้ำมันบำรุงผิวหรือน้ำมันตัวพาชนิดที่ชอบ เพื่อใช้นวดหรือทาตัว ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และบรรเทาความเมื่อยล้า
- ใช้กับเตาอโรม่า (Burner) 10-15 หยด หรือ เครื่องพ่นอโรม่า (Diffuser) 15-20 หยด เพื่อการกระจายกลิ่นในบ้าน เพื่อปรับบรรยากาศให้เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ
- ใช้หยดในอ่างอาบน้ำและแช่ตัว เพื่อการผ่อนคลาย โดยให้หยดน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ลงในอ่างน้ำร้อนราว 37 องศาเซลเซียส และแช่ตัวเป็นเวลา 15 นาที
ข้อควรรู้และข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย
- น้ำมันหอมระเหยไม่เหมาะกับการบริโภคและอาจก่อให้เกิดพิษร้ายแรงได้ แม้ว่าจะรับประทานเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม
- การใช้น้ำมันหอมระเหยโดยไม่เจือจาง อาจทำให้ผิวหนังที่บอบบางหรือเยื่อในโพรงรูจมูกเกิดการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้ หรืออาจก่อให้เกิดอาการแพ้และมีผื่นที่ผิวหนังในบางราย